5/30/2011

โรงเรียนขนาดเล็ก

เมื่อไม่นานมานี้ ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร สภาการศึกษาทางเลือก ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม เครือข่ายเยาวชนสืบสานภูมิปัญญา จัดเวที “ฝ่าวิกฤติการยุบโรงเรียนขนาดเล็ก” โดย รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์และสังคม ปาฐกถา “โรงเรียนชุมชนการศึกษาทางเลือก ทางรอดของสังคมไทย” ว่า การไล่ยุบโรงเรียนขนาดเล็กมีต้นตอจากการรวบอำนาจแบบทรราชย์หรือการผูกขาด อำนาจจนน่ากลัวของรัฐมาจัดการการศึกษาให้ทุกคนในประเทศ โดยวางกติกาและการใช้เงินทั้งหมด เมื่อไม่คุ้มทุนก็สั่งยุบ นี่คือความขัดแย้งและไม่เป็นธรรมในสังคมที่กดขี่ประชาชนและเด็กด้อยโอกาส สวนทางกับนโยบายปฏิรูปการศึกษาที่ประกาศว่าให้โอกาสและสร้างคุณภาพ

“รัฐไม่สามารถตอบสนองสังคมได้ การศึกษาผูกขาดไม่ครบเครื่อง กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)มองแบบลอยๆไม่ได้มองการศึกษาเป็นสังคม ซึ่งชุมชนเป็นสถาบันรูปธรรมที่สุดของสังคมที่ไม่ควรมองข้าม”

รศ.ศรีศักร กล่าวต่อว่า โรงเรียนขนาด เล็กอยู่ในชุมชนทั้งนั้น ซึ่งไม่สมควรยุบ เพราะการศึกษาขั้นพื้นฐานต้องสัมพันธ์กับชุมชน เป็นความสัมพันธ์ของระบบวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันที่ชุมชนเท่านั้นจะเป็นผู้ สอน การศึกษาข้างนอกที่เน้นหลักสูตรวิชาการแล้วสอนให้เป็นปัจเจกเอาแต่แข่งขัน ผลิตคนเพื่อเป็นทรัพยากรออกไปทำมาหากิน แต่ไม่สอนจิตวิญญาณความเป็นมนุษย์และจิตสำนึกร่วม รัฐมองชุมชนเป็นเพียงเขตการศึกษาเสมือนคอนโดมิเนียมบ้านจัดสรร เป็นวิธีคิดวิธีการที่ทำให้ชุมชนล่มสลาย

“ไม่เข้าใจว่าโรงเรียนเล็กๆที่จะไปยุบ ใช้อะไรประเมินโอกาสและคุณภาพของเด็ก การไปอ้างเรื่องมาตรฐานที่ ศธ. ตั้งแล้วมายุบแบบนี้ไม่ได้ หรือจะบอกว่าพื้นที่เล็ก ผมว่าพื้นที่ยิ่งเล็กคุณภาพยิ่งดี การศึกษาที่ถูกต้องคือโรงเรียนขนาดเล็กควรอยู่ในชุมชน”

รศ.ศรีศักร เสนอว่ารัฐควรคืนหรือลดอำนาจแล้วกระจายลงสู่ท้องถิ่น ศธ.ต้องเลิกบทบาทในการเป็นผู้จัดการศึกษาแต่มาเป็นผู้จัดให้มีการศึกษา ไม่ใช่กุมทั้งหมด ซึ่งการจะทำเช่นนี้ได้ขึ้นอยู่กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่โดยตัวเองก็ยังมีปัญหาเกิดขบวนการคอรัปชั่นบ่อยครั้ง แต่การสร้างเครือข่ายภาคประชาสังคมจะเป็นกลไกสำคัญที่จะต่อรองกับอำนาจต่างๆ ที่ไม่ชอบได้

ทั้งนี้ยังมีการเสวนา “ทางออกโรงเรียนขนาดเล็ก ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและความสำเร็จการพัฒนา” โดย รศ.ประภาภัทร นิยม ผู้บริหารโรงเรียนรุ่งอรุณ กล่าว ว่ากระแสการยุบโรงเรียนขนาดเล็กกำลังนำไปสู่หลุมพรางของรัฐ การอ้างเหตุผลความไม่คุ้มทุน เพื่อปัดความผิดพลาดเรื่องการบริหารจัดการแล้วมาแก้ปัญหาแบบผิดฝาผิดตัว เพราะหากคิดย้อนไปการให้งบอุดหนุนรายหัว จำนวนเด็กเท่าเดิมก็ไม่เห็นไม่คุ้มทุน นโยบายแบบสั่งการจากบนลงล่างต่างหากที่เป็นต้นเหตุให้คุณภาพการศึกษาตกต่ำ

“รัฐต่างหากที่ผิดพลาด ดังนั้นเราไม่จำเป็นต้องร้องขอ แต่ทำในสิ่งที่โรงเรียนและชุมชนทำไปเรื่อยๆ สิ่งที่เราทำคือสิ่งที่รัฐไม่มีทางทำได้ การไปร้องขอให้เขาลดอำนาจไม่มีทางเป็นไปได้”

นายชูพินิจ เกษณี จากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ กล่าวว่า ศธ.กำลังจัดการศึกษาแบบตัดรองเท้าที่สวยมากแต่สวมไม่ได้ สุดท้ายตัดปัญหาด้วยการตัดเท้าทิ้ง ซึ่งสะท้อนว่า 1.ไม่เคารพสิทธิเด็ก โดยเฉพาะในช่วงอนุบาล-ประถมศึกษา เด็กควรอยู่กับชุมชนมากที่สุดเพื่อให้เกิดความผูกพัน 2.สวัสดิภาพเด็ก ที่ต้องเดินทางไปเรียนในที่ไม่คุ้นเคยและห่างไกล 3.ศธ.ไม่เชื่อถือหลักการมีส่วนร่วมของชุมชน 4.การไม่ให้อำนาจการกำกับดูแลของคณะกรรมการสถานศึกษา และ 5.การอ้างคุณภาพไม่มีทางเป็นไปได้ในทางตรรกะ เพราะโรงเรียนใหญ่หลายแห่งก็ไม่มีคุณภาพแต่ไม่ถูกยุบ

“นโยบายนี้ผิดตั้งแต่การตั้งโจทย์ แทนที่จะคิดว่าโรงเรียนเล็กคนเรียนน้อยจะจัดการให้มีคุณภาพ หรืออาจเพิ่มเติมการศึกษาทางเลือก ดึงชุมชนมาช่วยให้เกิดพลัง แต่กลับไม่มีแนวทางเช่นนี้ออกมาเลย”

ด้าน นายบัญชร แก้วส่อง ผอ.สกว.ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น กล่าว ว่าการที่ชุมชนจัดการศึกษาเองและมีรูปแบบให้เห็นแล้วเป็นเรื่องที่ดี แต่เชื่อว่าทั้ง 7,000 แห่งคงทำไม่ได้ทั้งหมด และยังถูกครอบงำด้วยความคิดว่าการศึกษาที่ดีคือส่งลูกไปเรียนในที่ดีๆ ดังนั้นกระบวนการที่เป็นทางออกของปัญหาจึงไม่ใช่แค่ประชาพิจารณ์ แต่ต้องเริ่มตั้งแต่การทำความเข้าใจเชิงลึกว่าชุมชนจะเลือกทางรอดแบบไหน อยากเห็นการศึกษาไปในทางใด ระหว่างการเรียนแบบวิชาการหรือการศึกษาแบบกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนที่จะ ได้ทั้งเชิงวิชาการและสังคมวัฒนธรรม ขณะที่ผู้ปกครองได้พัฒนาไปด้วย การยุบไม่ยุบไม่ใช่เรื่องสำคัญ แต่ขอให้เป็นการตัดสินใจร่วมของคนในชุมชน

ขณะที่ นายเสน่ห์ เสาวพันธ์ ผอ.โรงเรียนปากบุ่ง อ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด โรงเรียนลำดับแรกที่ทางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจ.ร้อยเอ็ด เตรียมประกาศยุบ กล่าวว่ายอมรับหาก ศธ.เห็นว่าการที่โรงเรียนมีเด็กเพียง 8 คนที่มีฐานะยากจน ผลประเมินคุณภาพการเรียนต่ำ มีครูที่จบไม่ตรงสาขาจำเป็นต้องยุบ แต่ถามกลับว่าเด็กทั้งหมดที่ไม่มีทางไป ไม่มีค่าใช้จ่ายเดินทางไปเรียนที่ตัวเมือง หากยุบไปเด็กพวกนี้จะเป็นอย่างไร

“เป็นครูประเมินไม่ผ่านอย่างมากก็ถูกไล่ออก แต่เด็กต้องต่อสู้กับการศึกษาที่เน้นการแข่งขันโดยไม่มองโอกาสและสภาพแวด ล้อม เวลาผู้ใหญ่ในบ้านเมืองตัดสินใจอะไรแล้วไม่หันหลังกลับมามองมุมอื่นบ้าง มันน่ากลัวจริงๆ”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็กทั่วประเทศยังได้หารือร่วมกันว่าจะออกแถลงการณ์ คัดค้านการยุบโรงเรียนขนาดเล็กและเรียกร้องให้มีการทำประชาพิจารณ์กับผู้มี ส่วนได้ส่วนเสียก่อน เพื่อนำไปยื่นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการ ศึกษาขั้นพื้นฐานโดยจะรวมตัวกันที่หน้าคุรุสภาในวันที่ 16 มิ.ย. นี้ เวลา 10.00 น.


( เรื่อง อมราวดี อ่องลา สถาบันอิศรา รายงาน )

5/19/2011

FAQ about Montessori Programs

Hi Peter,
>>
>> Thank you for your interest in our school. These is more information
>> in attached file: you can't hurry love! Homework and Montessori Way.
>>
>> and your questios about:
>>
>> Why Do Most Montessori Schools Ask Young Children to Attend Five
>> Days a Week?
>>
Answer: Two- and three-day programs are often attractive to parents who do
>> not need full-time care; however, five-day programs create the consistency that is so important to young children and which is essential in developing strong Montessori programs. Since the primary goal of Montessori involves creating a culture of consistency, order, and empowerment, most Montessori schools will expect children to attend five days a week.
>>
>> Why Do Most Montessori Schools Want Children to Enter at Age
>> Three?
>>
>>Answer: Dr. Montessori identified four "planes of development," with each
>> stage having its own developmental characteristics and developmental challenges. The Early Childhood Montessori environment for children age three to six is designed to work with the "absorbent mind," "sensitive periods," and the tendencies of children at this stage of their development.
>>
>> Learning that takes place during these years comes spontaneously without effort, leading children to enter the elementary classes with a clear, concrete sense of many abstract concepts. Montessori helps children to become self-motivated, self-disciplined, and to retain the sense of curiosity that so many children lose along the way in traditional classrooms. They tend to act with care and respect toward their environment and each other. They are able to work at their own pace and ability. The three-year Montessori experience tends to nurture a joy of learning that prepares them for further challenges.
>>
>> This process seems to work best when children enter a Montessori program at age two or three and stay at least through the kindergarten year. Children entering at age four or five do not consistently come to the end of the three-year cycle having developed the same skills, work habits, or values.
>>
>> Older children entering Montessori may do quite well in this very different setting, but this will depend to a large degree on their personality, previous educational experiences, and the way they have been raised at home.

>> Montessori programs can usually accept a few older children into an established class, so long as the family understands and accepts that some critical opportunities may have been missed, and these children may not reach the same levels of achievement seen in the other children of that age. On the other hand, because of the individualized pace of learning in Montessori classrooms, this will not normally be a concern.
>>
>> If you require any additional information please visit
>> http://www.montessori-thailand.com. or mail to me.
>>
>> Thanks and Regards,
>>
>> Shane